เทศบาลตำบลแม่ริม ยินดีต้อนรับ
ข้อมูลเทศบาล

นายกเทศมนตรี

นางอำไพพรรณ ทับทอง - นายกเทศมนตรีตำบลแม่ริม

นางอำไพพรรณ ทับทอง

นายกเทศมนตรีตำบลแม่ริม

ปลัดเทศบาล

นายณัฐชนัน ก้อนจำปา - ปลัดเทศบาลตำบลแม่ริม

นายณัฐชนัน ก้อนจำปา

ปลัดเทศบาลตำบลแม่ริม


งานทะเบียนราษฎร

งานทะเบียนราษฏร


สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลแม่ริม

         ได้เปิดให้บริการ ณ สำนักงานเทศบาลตำบลแม่ริม เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2547 โดยให้บริการในวันจันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น.

งานที่ให้บริการ ได้แก่

                        -  การขอเลขรหัสประจำบ้าน (ขอเลขที่บ้านใหม่)

                        -  การเพิ่มและจำหน่ายชื่อในทะเบียนบ้าน

                        -  การแจ้งเกิด

                        -  การแจ้งตาย

                        -  การแจ้งย้ายเข้า - ออก

                        -  การแก้ไขหรือจำหน่ายรายการในเอกสารทะเบียนราษฏร

                        -  การแจ้งย้ายปลายทางอัตโนมัติ

                        - การขอตรวจ คัด และรับรองสำเนารายการทะเบียนราษฏร

-  เจ้าบ้าน หมายถึง ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัว ครองบ้านในฐานะเป็นเจ้าของบ้าน ผู้เช่า หรือในฐานะอื่นใดก็ตาม

-  ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมายถึง เจ้าบ้าน ผู้มีชื่อและรายการบุคคลอยู่ในเอกสารที่ขอตรวจหรือคัดและรับรองสำเนา บุคคลหรือนิติบุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับเอกสารทะเบีนรราษฏร ไม่ว่าโดยตรงหรือทางอ้อม

-  หน้าที่ของเจ้าของบ้าน กฏหมายทะเบียนราษฏร ได้กำหนดให้เจ้าบ้านมีหน้าที่ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนในเรื่อง ต่อไปนี้ คือ

                      1. มีคนเกิดในบ้าน

                      2. มีคนตายในบ้าน

                      3. มีคนย้ายเข้า - ออก ในบ้านหลังนั้น

                      4. มีการปลูกสร้างบ้านใหม่ หรือ รื้อถอนบ้าน

หากไม่แจ้งจะถือว่ามีความผิดตามกฏหมาย

- การมอบหมาย กรณี คนที่มีชื่อและรายการในทะเทียนบ้านระบุว่าเป็นเจ้าบ้านไม่ได้ไปแจ้งด้วยตนเอง แต่มอบหมายให้บุคคลอื่นไปแจ้งแทน จะต้องให้ผู้ได้รับมอบหมายนำเอกสารต่อไปนี้ ไปแสดงต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง

                1. บัตรประจำตัว หรือ สำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน ของเจ้าบ้าน ถ้าเป็นสำเนาภาพถ่าย ผู้มอบหมายจะต้องเซ็นต์รับรองสำเนาไว้ด้วย

                2. บัตรประตัวผู้แจ้ง

                3. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

                4. หนังสือมอบหมายหรือหนังสือมอบอำนาจจากเจ้าบ้าน

1. การแจ้งเกิด ให้แจ้งเกิดภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิดและเกิด ณ ท้องที่ใดให้แจ้งเกิด ณ สำนักทะเบียนท้องที่นั้น หลักฐานที่นำไปใช้แสดงมีดังนี้ คือ

                 1. สำเนาทะเบียนฉบับเจ้าบ้าน

                 2. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการ ของบิดา มารดาเด็ก และของผู้แจ้ง (กรณีบิดา - มารดา ไม่สามารถดำเนินการเองได้)

                 3. ใบสำคัญการสมรส ของบิดา-มารดาเด็ก (ถ้ามี)

                 4. หนังสือรับรองการเกิดจากโรงพยาบาล (กรณีที่เกิดโรงพยาบาล) หรือ ใบรับแจ้งการเกิดจากผู้ใหญ่บ้าน(กรณีที่เกิดที่บ้าน)

หมายเหตุ: ควรเตรียมตั้งชื่อเด็กให้พร้อมกับการแจ้งเกิด

2.การแจ้งตาย ต้องแจ้งตายภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตายและตายในท้องทีใดให้แจ้งสำนักทะเบียนท้องที่นั้น หลักฐานที่นำไปใช้แสดงมีดังนี้ คือ

                 1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่ออยู่

                 2. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการของผู้แจ้งและผู้ตาย

                 3. หนังสือรับรองการตายจากโรงพยาบาล (กรณีตายในโรงพยาบาล)หรือใบแจ้งการตายจากผู้ใหญ่บ้าน (กรณีตายที่บ้าน)

                 4. สำเนาบันทึกประจำวันของสถานีตำรวจ (กรณีตายผิดธรรมชาติ)

                     การตายผิดธรรมชาติมี 5ลักษณะ คือ

                              1. ฆ่าตัวตาย

                              2. ถูกฆ่าตาย

                              3. ถูกสัตว์ทำร้าย

                              4. การตายโดยอุบัติเหตุ

                              5. การตายโดยไม่ปรากฏสาเหตุ

3. การแจ้งย้ายที่อยู่

                   3.1 การแจ้งย้ายออก ให้แจ้งย้ายออกภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ผู้นั้นย้ายออก

                   3.2 การแจ้งย้ายเข้า ให้แจ้งย้ายเข้าภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ผู้ย้ายเข้ามาอยู่ในบ้าน

                             หลักฐานที่นำไปใช้แสดงมีดังนี้ คือ.- 

                                       1. สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าบ้าน

                                       2. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการของเจ้าบ้านและผู้แจ้งย้ายออกหรือย้ายเข้า

                                       3. หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน กรณีเจ้าบ้านไม่สามารถดำเนินการเองได้

                                       4. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการของผู้รับมอบหมาย

                                       5. ใบแจ้งย้ายที่อยู่ (ทร.6) ตอน 1,2(กรณีย้ายเข้าปกติ)

                   3.3   การแจ้งย้ายปลายทางอัตโนมัติ

                            หลักฐานที่นำไปใช้แสดงมีดังนี้ คือ.-

                         ผู้แจ้งมายื่นคำร้องขอแจ้งย้ายปลายทาง

                                   1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการของผู้แจ้ง

                                   2. เจ้าบ้านต้องมาให้ความยินยอมหรือแสดงหนังสือยินยอมจากเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้าไปอยู่ใหม่(กรณีเจ้าบ้านมอบหมาย)

                                  3. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการของเจ้าบ้าน

                                  4. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

                                  5. ผู้แจ้งย้ายจะต้องยื่นคำร้องด้วยตนเองเท่านั้น

4. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในเอกสารการทะเบียนราษฏร

                       หลักฐานที่นำไปแสดงมีดังนี้ คือ.-

                                      1. สำเนาทะเบียนบ้าน ฉบับเจ้าบ้าน

                                      2. บัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรข้าราชการของเจ้าบ้าน หรือ ผู้แจ้ง

                                      3. หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน หรือ ผู้แจ้ง (กรณีไม่สารารถดำเนินการเองได้)

                                      4. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการของผู้รับอมบหมาย(กรณีได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้านหรือผู้แจ้ง)

                                      5. หลักฐานอ้างอิงในการขอแก้ไข เช่น ทะเบียนบ้าน ใบสำคัญการสมรส การหย่า ใบเปลี่ยนชื่อตัว-สกุล ฯลฯ หรือหลักฐานอื่น ๆ ที่ทางราชการออกให้

5.การขอตรวจสอบและคัดสำเนารายการทะเบียนราษฏร

                         หลักฐานที่นำไปแสดงดังนี้ คือ.-

                                  1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการของผู้แจ้ง

                                  2. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

                                  3. หลักฐานการแสดงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

6.การขอเลขรหัสประจำบ้าน (การขอเลขที่บ้านใหม่) ให้แจ้งขอเลขรหัสประจำบ้าน ภายใน 15 วัน นับแต่วันปลูกสร้างบ้านแล้วเสร็จ

                        หลักฐานที่นำไปแสดงดังนี้คือ.-

                                  1. สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้าน และผู้รับมอบหมาย

                                  2. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการของเจ้าบ้านและรับมอบหมายให้ดำเนินการแทน

                                  3. ใบอนุญาตปลูกสร้างอาคาร

                                  4. สำเนาโฉนดที่ดิน,สัญญาซื้อขาย,สัญญาเช่า

                                  5. แบบแปลนก่อสร้างอาคาร

                                  6. รูปถ่าย  (สร้างเสร็จประมาณ 70-80%)

                                  7. เลขที่บ้านข้างเคียง

7.การแจ้งรื้อถอนบ้าน ให้แจ้งรื้อถอนให้แจ้งรื้อถอนบ้านภายใน 15 วัน นับแต่วันรื้อถอนบ้านเสร็จแล้ว

                         หลักฐานที่นำไปแสดงมีดังนี้ คือ.-

                                  1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการ

                                  2. ใบอนุญาตรื้อถอนอาคาร

เอกสารทุกฉบับที่จะนำมาเป็นหลักฐานกรุณาถ่ายเอกสาร 1 ชุด พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

******** งานทะเบียน ดังต่อไปนี้ให้แจ้งทีสำนักทะเบียนอำเภอแม่ริม ณ ที่ว่าการอำเภอแม่ริม

 -  การทำบัตรประจำตัวประชาชน

 -  การจดทะเบียนสมรส

 -  การจดทะเบียนหย่า

 -  การเปลี่ยนชื่อตัว-ชื่อสกุล

 -  การรับรองบุตร รับรองสถานภาพ

...........................................................................


อัตราค่าธรรมเนียมการทะเบียนราษฎร

คัดและรับรองสำเนารายการในทะเบียนราษฎร

ฉบับละ  10 บาท

คัดและรับรองสำเนาข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร

ฉบับละ  20 บาท

การแจ้งย้ายปลายทางอัตโนมัติ

ฉบับละ  10 บาท

การแจ้งย้ายที่อยู่โดยไม่ผ่านคอมพิวเตอร์

ฉบับละ  5 บาท

คัดสำเนาทะเบียนบ้านด้วยระบบคอมพิวเตอร์

ฉบับละ  10 บาท


การแจ้งย้ายเข้าเกิน 15 วัน  ปรับไม่เกิน 1,000 บาท

 

แชร์หน้านี้: